เกิดอะไรขึ้น เมื่อ “เหมา เจ๋อ ตง” รับหมูกลับบ้าน

          ผู้นำที่ดีนั้นต้องมองเห็น “ความมีน้ำใจเป็นเรื่องสำคัญ” ไม่ว่าจะอยู่สูงแค่ไหน ต้องไม่ลืมตัว

          “ไม่มีมนุษย์คนใด ไม่ต้องการความช่วยเหลือ” นี่คือประโยคที่ ท่าน เหมา เจ๋อ ตุง กล่าวไว้ ท่านคือผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงจากระบบศักดินา ปลุกระดมให้ชาวจีนรักชาติ มีความมุ่งมั่น ลุกขึ้นต่อสู้กับความยากจนอย่างไม่เกรงกลัว บั้นปลายชีวิตถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 9 กันยายน 1976 ณ กรุงปักกิ่ง ในวัย 83 ปี 

เกิดอะไรขึ้น เมื่อ “เหมา เจ๋อ ตง” รับหมูกลับบ้าน

           สิ่งหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดการเป็นผู้นำ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกประทับใจ อีกมุมหนึ่งของท่าน นั่นคือ ท่านเป็นผู้นำที่มีน้ำใจและให้เกียรติผู้ที่ด้อยกว่าเสมอ ด้วย เกิดมาในครอบครัวชาวนา หมู่บ้านเทือกเขา เสาซาน มณฑลหูหนาน ประเทศจีน ท่านจึงมีน้ำใจเป็นที่ตั้งในการดำรงชีวิตตลอดมา
           ครั้งหนึ่ง ในวัยเด็ก บิดาของ ท่าน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ซื้อหมูจากชาวบ้านตัวหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป 2 วัน จึงสั่งให้ท่านเหมาไปรับหมูตัวนั้นจากชาวบ้าน เมื่อเดินทาไปถึงเขากลับต้องแปลกใจที่เจอชายและหญิงชรา แต่งกายมอมแมม เสื้อผ้าขาดรุ่งริ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของหมูนำหมูมามอบให้เขา พร้อมพูดว่า ดูเถอะหมูตัวนี้ คงทำกำไรให้อย่างมาก คงจะเป็นบุญของหนู ตอนที่ขายให้พ่อหนูราคาหมูต่ำกว่านี้มากมาย

เกิดอะไรขึ้น เมื่อ “เหมา เจ๋อ ตง” รับหมูกลับบ้าน


          ด้วยความสงสารเขาจึงขอคืนเงินที่บิดาจ่ายไว้กับแม่เฒ่าและไม่รับหมูกลับบ้าน “โดยให้แม่เฒ่าจะได้นำหมูไปขายในราคาที่สูงกว่านี้”
          ต่อมาเขาเจอคนนอนหนาวสั่น อยู่ริมข้างทางก็ยอมถอดเสื้อนวมให้ใส่ นำอาหารกลางวันของตนแบ่งให้เพื่อนที่ไม่มีอาหาร ทำให้หลายครั้ง บิดาโกรธมากแต่เขาไม่เคยถูกทำโทษทุกครั้ง เนื่องจากเขาให้เหตุผลที่ค่อนข้างหนักแน่น สมเหตุสมผลกับบิดาทุกครั้ง
           วันที่เขาก้าวมาสู่ “ผู้นำ” เหมา เจ๋อ ตง จึงกลายเป็นผู้นำที่ประชาชนต่างเคารพศรัทธา รักใคร่เพราะเขาไม่เคยลืมตัว เป็นคนมีน้ำใจ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากท่านผู้นี้ เคยเป็นลูกชาวนาลำบากมาแต่เด็ก เห็นความลำบากเข้าใจความทุกข์ยากของประชาชน
           นี่คือตัวอย่างผู้นำที่ดีอีกมุมหนึ่งของท่านเหมา !!
           น่าสนใจสำหรับการสร้างวัฒนธรรมอีกข้อหนึ่งในองค์กร โดยให้ผู้นำปลูกฝังเป็นวัฒนธรรมองค์กร และบรรจุเป็น หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) เพราะการทำงานนั้นต้องอาศัยความสามัคคีในกลุ่มงาน มีการแบ่งปันน้ำใจที่ดีซึ่งกันและกัน ไม่หวังเพียงผู้นำคือผู้สั่งการแต่เพียงเท่านั้น
           น่าเสียดาย ที่ในปัจจุบันการอบรมภาวะผู้นำนั้น เน้นเรื่องการเป็นผู้นำในการทำงาน มากกว่าปลูกฝังจริยธรรมในจิตใจ เสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ขาดรอยต่อการเชื่อมโยงด้านความผูกพันที่ดีระหว่างบุคลากร
           หากนำเรื่องราวของการเห็นใจในการรับหมูกลับบ้านของ ท่าน เหมา เจ๋อ ตง ไปใช้ในการพัฒนาพื้นฐานจิตใจ เชื่อแน่ว่าผู้นำหรือหัวหน้าทีมต้องเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เห็นใจลูกน้อง ไม่ยึดถือประโยชน์ฝ่ายเดียว ช่วยส่งเสริมการเติบโตลูกน้อง องค์กรมีความเหนียวแน่นปึกแผ่น ไม่มีการ TURN OVER สูงปรี๊ด !! บ่อยๆ แน่นอน

ขอบคุณภาพ 

http://gadgetreport.ro
www.thaichinese.net 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดปฐมนิเทศใช้เกมและกิจกรรมอะไรดี

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?