มาออกกำลังกายสมองกันเถอะ

 คุณทราบหรือไม่? หากคุณไม่ออกกำลังกายสมองเสียแต่วันนี้ ภาวะสมองเสื่อม(Dementia) อาจมาเยือนในไม่ช้า…หากรู้วิธีดูแลและป้องกันเสียแต่วันนี้ เราจะมีสมองสดใส คิดอะไรก็บรรเจิด นำพาชีวิตพบแต่สิ่งดีดี

📑ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์  

          คุณทราบหรือไม่? หากคุณไม่ออกกำลังกายสมองเสียแต่วันนี้ ภาวะสมองเสื่อม(Dementia) อาจมาเยือนในไม่ช้า…หากรู้วิธีดูแลและป้องกันเสียแต่วันนี้ เราจะมีสมองสดใส คิดอะไรก็บรรเจิด นำพาชีวิตพบแต่สิ่งดีดี


          มาเรียนรู้สมองกัน …

          สมอง (Brain) นั้น มีรูปร่างก้อนรูปไข่(Egg-shaped)ขนาดใหญ่ สมองผู้ใหญ่น้ำหนักเฉลี่ย 1,300 กรัม ผิวสมองลักษณะเป็นลูกคลื่น  คลื่นที่นูนของสมองเรียก “Gyri” ร่องแยกลูกคลื่นเรียก “Sulci”  พื้นสมองที่ลักษณะเป็นคลื่น Convolution โดยพบว่าหากมีคลื่นสมองมาก ผู้นั้นจะมีสติปัญญาดี เฉลี่ยวฉลาด มีไหวพริบและความจำเป็นเลิศ   ดังเช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ 

         “ โธมัส อาร์วีย์ พยาธิแพทย์ โรงพยาบาล พรินซ์ตัน ได้ทำการผ่าตัดสมองอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ปี 1955 และบันทึกภาพถ่ายเก็บไว้ แบ่งสมองเป็น 240 ส่วน เพื่อเก็บรักษา ต่อมา นักมานุษยวิทยา พบว่าสมองของไอน์สไตน์มีรอยหยักซับซ้อน ขรุขระมากกว่าคนปกติทั่วไป”

          หน้าที่

          สมองสองซีกควบคุมการทำงานของร่างกายสลับกัน ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา

          สมองส่วนหน้า (Cerebrum) : ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด ไหวพริบ(Intelligence) ความทรงจำ (Memory) ความรู้สึกรับผิดชอบต่างๆ

          Nerve Centers : ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การมองเห็น ได้ยิน กลิ่น และรส

          Hypothalamus : ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การตื่น การหลับ รักษาระดับน้ำเกลือแร่ ควบคุมการเผาผลาญอาหาร คาร์โบไฮเดรต ไขมัน

นอกจากการใช้สมองคิด พัฒนางานแล้ว เราควรเรียนรู้การให้รางวัลสมองบ้าง โดยการผ่อนคลายสมองและบริหารสมองทุกวัน เพื่อให้สมองได้กระชุ่มกระชวย ใช้งานได้ดีเยี่ยมไปอีกนานแสนนาน


    วิธีบริหารสมอง

        ออกกำลังกายสมอง ด้วย Brain Gym  โดย ดร.พอล  เดนนิสัน


  • การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Over  Movement) เพื่อให้การทำงานของสมองซีกซ้ายขวามีการทำงานเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ดี เช่น ท่าแตะสลับ,ท่าเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl) 1-10 เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน,ไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค,กระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความ,สมดุลทั้งซ้าย-ขวา,กระตุ้นความจำ
  • ท่ายืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement)  ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลัง เช่น ท่าโยคะต่างๆ
  • การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น(Energizing Movement) ท่าช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท ช่วยให้สมองตื่นตัวมีการเรียนรู้รับรู้ดีขึ้น
  • การเคลื่อนไหวร่างกายทุกสัดส่วนทั่วไป(Useful) เช่น ท่าหมุนคอ ,ท่าสะบัดมือ ,ท่าหมุนเอว,ท่าหมุนเข่า,ท่ากระโดดตบ

          นอกจากนี้แล้ว เล่นเกมส์ Sudoku  ,อ่านหนังสือ,นั่งสมาธิ จะช่วยให้สมองมีการฝึกคิดทักษะ ฝึกการจดจ่อในเป้าหมายงาน

          สมองเรียนรู้ช้า  เพราะอะไร ??

          คิดแต่เรื่องลบ     หมดเวลาส่วนมาก ไปกับการคิดแต่เรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ ใส่ความคิดแต่เรื่องผิดๆในสมองมากเกินจำเป็น ทำให้สมองถูกใช้ในทางที่ผิด

          สมองขาดสมาธิ ขาดความสามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่องหรือขาดสมาธิแน่วแน่ในการทำงาน มักมีความสามารถเรียนรู้ในระยะสั้น

         คิดแต่เรื่องในอดีต  ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ความกังวลใจ ซ้ำแล้วซ้ำอีกสิ่งนี้บั่นทอนการพัฒนาสมอง

         ปัจจัยที่ทำให้สมองเรียนรู้เร็ว

         เปลี่ยนความคิดจากแง่ลบเป็นแง่บวก   ปรับทัศนคติตนเองใหม่โดยหัดยิ้มกับตนเองจากภายในใจสู่ภายนอก ไม่ตั้งแง่ลบกับผู้อื่น ไม่มองผู้อื่นด้วยหางตา การปรับแนวคิดนั้นบางคนคิดว่าเป็นเรื่องยาก หากไม่สามารถฝึกคิดบวกได้ ให้หาเข้าอบรมหลักสูตรคิดบวก(Positive Thinking Course) เพื่อหาแนวคิดที่ลงตัวกับตัวเอง หาแรงจูงใจในการคิดดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เป็นที่รักเพื่อนร่วมงาน

         คิดแบบทางสายกลางตามหลักคำสอน พุทธทาส ภิกขุ ท่านกล่าว

"จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่

เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู

ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว

อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย

เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย

ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง”…

          หาวิธีผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ  โดยหากิจกรรม/งานอดิเรกทำในยามว่างทำ เช่น เดินเที่ยวชมธรรมชาติ  ไปสถานที่พักผ่อน  ตากอากาศ  ทำกิจกรรม CSR บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

         ไม่นั่งครุ่นคิดแต่งานประจำ หรือนั่งจุ่มตัวลงหน้าโทรทัศน์ หน้าจอโทรศัพท์ ทั้งวัน โดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะเหล่านี้ เป็นเหตุให้สมองอ่อนล้า ไม่มีการผ่อนคลาย คิดทำอะไร สมองไม่ไหลลื่นดังคิด

          สังเกตและสำรวจตนเอง ว่ามีการเรียนรู้วิธีใดดีที่สุดเป็นพิเศษ เช่น การอ่านหนังสือ ,งานศิลปะ,ดนตรี,วาดรูป,เล่นกีฬา แล้วหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำนอกจากเกิดความเพลิดเพลินแล้ว สามารถประทินปัญญา บางท่านหากิจกรรมที่ตนเองชอบทำ หมั่นฝึกฝนจริงจัง พบพรสวรรค์ในตนเองก็มี 

          พยายามตั้งคำถาม เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับสมอง นำมาเปรียบเทียบเพื่อคิดวิเคราะห์  หัดมีคำถามต่อสิ่งที่มองเห็นเสมอหรือสรุปแนวคิดแบบ Mind Mapping เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับสมองอย่างมีระบบ  ไม่ว่าจะเป็น การสรุปบทเรียน ,การสรุปงานประจำวัน,สรุปงานประชุม ,สรุปปัญหาในงาน เป็นต้น

          ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ร่างกายกระฉับกระเฉง วันละ 10-20 นาที หรือ 3-5 วัน /สัปดาห์ หากมีพื้นที่จำกัด ให้หาท่าออกกำลังกายที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก เช่น Sit UP ,ยกดรัมเบล

         สมองส่วนความจำจะทำงานได้ดีในเวลาต่างกัน

         งานวิจัยของมหาวิทยาลัย บาเซิล สวิตเซอร์แลนด์  พบว่า การจิบชาเขียว(Green Tea)เป็นประจำช่วยเพิ่มสมรรภาพของสมองในส่วนของความจำ


        สำหรับการดื่มชาเขียวนั้น ควรมาจากธรรมชาติแท้นั้น ปริมาณที่พอเหมาะ และไม่มีส่วนผสมจากการปรุงรสใดๆ จึงจะมีประโยชน์สูงสุด ควรดื่มทันทีหลังการชงใบชาเขียว 1 - 2 ช้อนชาในน้ำร้อน วันละ 3 ถ้วย แต่ไม่ควรเกิน 10 ถ้วยในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อให้ได้คุณประโยชน์สุงสุดต่อสุขภาพ

         ซึ่งปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์หลายแบรนด์ทั้งเครื่องดื่ม อาหาร หรือขนมขบเคี้ยวต่างๆ มีการผลิตสินค้าออกมาสู่ท้องตลาดจำนวนมาก นอกจากรสหวานเจี๊ยบชวนชื่นใจ คาร์โบไฮเดรตจำนวนมากแล้ว อาจนำมาซึ่งภัยเงียบแบบไม่รู้ตัว เช่น เบาหวาน ,ภาวะอ้วน เป็นต้น ทั้งนี้ ก่อนซื้อผู้บริโภคควรพิจารณาฉลากด้านข้างสินค้าสักนิด เพื่อการบริโภคแต่พอควร และไม่หลงเชื่อโฆษณามากกว่าคุณประโยชน์ที่แท้จริง

         การบริหารสมอง เรื่องดีดีที่ไม่ควรมองข้าม ทำให้สมองเรามีความคิดใหม่ใหม่เข้ามาเสมอ ความจำดี มีโอกาสก้าวหน้า มีความสำเร็จในงานสูงกว่าคนทั่วไป ลองทำดูนะ !!!

ที่มาข้อมูล

         หมอชาวบ้าน

         วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาเขียว สารออกฤทธิ์ที่สำคัญและปริมาณการบริโภคที่เหมาะสม

          Human Anatomy and Physiology /ผศ.รำแพน

          https://www.novabizz.com/NovaAce/Time/Brain_Up.htm

          https://www.dek-d.com

          https://news.yale.edu/

         https://image.ohozaa.com

บทความ  ความรู้  สมอง  ออกกำลังกาย  สมองเสื่อม  ไอน์สไตน์  Sudoku  ความคิด  พุทธทาส  CSR  ชาเขียว 

https://www.consultthailand.com/blog/info-blog.php?blog_id=8&web=Brain-Gym



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดปฐมนิเทศใช้เกมและกิจกรรมอะไรดี

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?