บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ แรงจูงใจ

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”

รูปภาพ
             “อาจเป็นไปได้ ที่ในยุคต่อไป จะไม่มีใครอยากเชื่อว่า บุคคลเช่นนี้ ก็เคยมีชีวิตชีวา เดินเหินอยู่บนโลกนี้”  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าว           ครั้งหนึ่ง ดิฉันได้ไปเยือนอินเดีย ในฐานะที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ดิฉันเห็นภาพการเติบโต การพัฒนา สาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมทั้งเศรษฐกิจหลายด้านของอินเดีย ที่มีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างน่ามหัศจรรย์ ต่างจากในวัยเด็กที่ผู้ใหญ่เคยพูดถึงอินเดียในแง่ของความยากจน มีขอทานจำนวนมาก ทำให้ดิฉันคิดถึงบุคคลท่านหนึ่ง           หนังสือพิมพ์ นิวยอร์ค ไทมส์ เคยกล่าวถึง  “เขาเป็นบุคคลที่ไม่มีวันตาย เขาได้ทิ้งพลังทางใจ ไว้ให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง ซึ่งสักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า จักต้องมีอำนาจเหนือกำลังรบและอาวุธยุทธภัณฑ์ และเหนือลัทธิประหัตประหารกัน อันหฤโหด”  นั่นคือ  “มหาตมะ คานธี”  Mahatma Gandhi            ผู้เขียน ขอหยิบยกหนังสือ  “ชีวประวัติของข้าพเจ้า โดย มหาตมา คานธี”  (สมัยนั้น เขียน มหาตมา คานธี) เป็นหนังสือแปลโดย กรุณา กุศลาสัย แปลจากภาษาฮินดี ตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ.2518 จำได้ว่าอ่านซ้ำหลายครั้งแล้ว ทุกครั้งยังคงให้ความรู้สึกแตกต่าง น่าสนใจในการน

หลักการให้รางวัลเพื่อการจูงใจ (How to Reward People)

รูปภาพ
             ในการบริหารงาน ทุกสาขาอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานย่อมหวังผลสำเร็จของงาน ความสำเร็จในหน้าที่ แน่นอน หากงานนั้นต้องอาศัยทีมงาน ร่วมมือ ร่วมใจในการทำงาน หัวหน้าทีมต้อง สร้างแรงจูงใจ (Motivation)  ให้งานมีผลสัมฤทธิ์อย่างเห็นเป็นรูปธรรม แม้ว่าธุรกิจมีลักษณะสินค้า บริการ การโฆษณาคล้ายคลึงกัน แต่หากคุณภาพคนและฝีมือเหนือกว่า นั่นย่อมส่งผลต่อการเลือกใช้ของผู้บริโภค อุปโภคมากว่า           สำหรับหัวหน้างานแล้ว เทคนิคการจูงใจในการทำงาน ถือว่าต้องมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่ บริหารงานเก่งต้องบริหารคน ให้เก่งด้วย แต่จะทำอย่างไร ? ให้บุคลากรที่มีความหลากหลายในทีม เก่งและมีผลการปฏิบัติงานที่ดีเลิศได้ ? เป็นสิ่งที่หัวหน้างานต้องแสวงหาเทคนิคการจูงใจ นำมาใช้ให้เหมาะสมแต่ละบุคคล เพราะแต่ละวัยทำงานมีความต้องการ เหมือนหรือแตกต่างกันไป หลักการให้รางวัลเพื่อการจูงใจ (How to Reward People)           ปัจจุบันเทคโนโลยี มาพร้อมกับวิวัฒนาการกรทำงานของคนรุ่นใหม่ ที่เปลี่ยนไป เครื่องมือสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ช่วยการประสานงาน พูดคุย การส่งต่อข้อมูล แหล่งบันเทิง แหล่งค้นหางาน ดังนั้น ผู้บริหารหรือหัวหน้างานยุคให

กลวิธีสะกดลูกน้องแบบกากินน้ำ (คนเป็นใหญ่ต้องอ่าน)

รูปภาพ
          หลายคนคงได้ยินประโยคที่ว่า   “เหมือนสวมหมวกสองใบ”           การรับหน้าที่บทบาทเป็นผู้นำนั้น มิใช่แค่บริหารงานเป็น อย่างเดียว ต้องบริหารตนเองให้อยู่เหนือความคาดหมายของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย จึงจะได้ชื่อว่า   หัว และ หน้า   ที่สมบูรณ์แบบ          วันนี้ ผู้เขียนขอหยิบยก นิทานชาดก เรื่อง  “กาดื่มน้ำทะเล”   กล่าวถึงผู้นำที่สมควร กลวิธีสะกดลูกน้องแบบกากินน้ำ (คนเป็นใหญ่ต้องอ่าน)           ไม่น่าเชื่อหลักการบริหารงานในแบบนี้ มีตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้ว           พระพุทธเจ้ากล่าวถึงบทบาทผู้นำ ได้อย่างงดงาม  ความว่า           ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระอุปนันทเถระ ผู้ไม่รู้จักพอแล้วเที่ยวสอนภิกษุอื่นให้รู้จักพอ จึงตรัสพระคาถาว่า            " บุคคลควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง บัณฑิตจะไม่พึงเศร้าหมอง"  แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นเทวดารักษาสมุทร สมัยนั้นมีกาน้ำตัวหนึ่งบินเที่ยวหากินอยู่ในมหาสมุทรนั้นมักร้องห้ามฝูงนกฝูงปลาว่า      "ท่านทั้งหลาย  จงดื่มกินน้