บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ องค์กร

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ของ “มหาตมะ คานธี”

รูปภาพ
             “อาจเป็นไปได้ ที่ในยุคต่อไป จะไม่มีใครอยากเชื่อว่า บุคคลเช่นนี้ ก็เคยมีชีวิตชีวา เดินเหินอยู่บนโลกนี้”  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าว           ครั้งหนึ่ง ดิฉันได้ไปเยือนอินเดีย ในฐานะที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ดิฉันเห็นภาพการเติบโต การพัฒนา สาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมทั้งเศรษฐกิจหลายด้านของอินเดีย ที่มีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างน่ามหัศจรรย์ ต่างจากในวัยเด็กที่ผู้ใหญ่เคยพูดถึงอินเดียในแง่ของความยากจน มีขอทานจำนวนมาก ทำให้ดิฉันคิดถึงบุคคลท่านหนึ่ง           หนังสือพิมพ์ นิวยอร์ค ไทมส์ เคยกล่าวถึง  “เขาเป็นบุคคลที่ไม่มีวันตาย เขาได้ทิ้งพลังทางใจ ไว้ให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง ซึ่งสักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า จักต้องมีอำนาจเหนือกำลังรบและอาวุธยุทธภัณฑ์ และเหนือลัทธิประหัตประหารกัน อันหฤโหด”  นั่นคือ  “มหาตมะ คานธี”  Mahatma Gandhi            ผู้เขียน ขอหยิบยกหนังสือ  “ชีวประวัติของข้าพเจ้า โดย มหาตมา คานธี”  (สมัยนั้น เขียน มหาตมา คานธี) เป็นหนังสือแปลโดย กรุณา กุศลาสัย แปลจากภาษาฮินดี ตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ.2518 จำได้ว่าอ่านซ้ำหลายครั้งแล้ว ทุกครั้งยังคงให้ความรู้สึกแตกต่าง น่าสนใจในการน

หลักการเขียน JD ที่ดี

รูปภาพ
            การเขียน JD (Job Description)  หรือหน้าที่งาน เป็นเอกสารที่แสดงถึงขอบเขต ความรับผิดชอบในตำแหน่งงาน ซึ่งแต่ละองค์กรมีแนวทางการเขียนที่เหมือนหรือแตกต่างกันไป แต่ท้ายที่สุดของการเขียน นั่นคือ มุ่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นทราบขอบเขตของความรับผิดชอบงาน พร้อมบอกคุณลักษณะ คุณสมบัติที่เหมาะสมในตำแหน่งนั้นๆ ให้ตรงตามความต้องการขององค์กร           การเขียน JD ที่ถูกต้องนั้น ควรเริ่มต้นมาจากการเชื่อมโยงจากนโยบาย วิสัยทัศน์ เป้าหมายที่องค์กรวางกลยุทธ์ไว้ก่อน โดยกำหนดหน้าที่งานตามภารกิจหน้าที่ ที่สอดคล้องกับ แผนผังโครงสร้างองค์กร (Organization Chart)   การเขียนมีความชัดเจน ครอบคลุมในหน้าที่ของแผนกหรือหน่วยงาน           แรกเริ่มนั้น ควรมีการ  วิเคราะห์งาน (Job Analysis :JA)   แต่ละงาน ให้ถ่องแท้เสียก่อน เพราะหากเริ่มเขียนใหม่ๆ จะพบว่างานบางหน้าที่มีความเกี่ยวข้อง เหมือนหรือซ้ำซ้อนกับแผนกอื่น ดังนั้น การเขียนที่ดีนั้น ผู้เขียนต้องมององค์รวม  แบบภาพใหญ่ (Big Picture)  ก่อน แล้วเก็บรายละเอียดปลีกย่อยแต่ละหน้าที่           มีบางท่าน เคยถามผู้เขียนว่า จริงๆแล้วหน้าที่การเขียน JD ปรับปรุง คือหน้าท

หลักสูตร การสอนงาน(Coaching)ทำให้พนักงานใหม่อยู่หรือไป ? สำคัญจริงหรือ

รูปภาพ
  หลายบริษัทที่กังขาอยู่ระหว่างการใช้งบประมาณเพื่อการฝึกอบรมพนักงาน ใช้เท่าไรดี ? หรือแค่ปฐมนิเทศพนักงานใหม่ อบรมคนเก่าบ้างพอหอมปากหอมคอ สำหรับนัก HR ที่ดีนั้นต้องมองพนักงานในองค์กรตั้งแต่แรก

ขั้นตอนจัดทำ Competency ให้บรรลุเป้าหมาย

รูปภาพ
การประเมินผลพนักงานในองค์กร ทำให้ทราบถึงจุดดี จุดด้อย ของการพัฒนาและเพิ่มทักษะพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิผล พนักงานที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับหน้าที่ วัฒนธรรมองค์กร อาจต้องถอยหลังเดินออก

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?

รูปภาพ
ปัจจุบันระบบสมรรถนะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการกำหนดให้สอดคล้องไปตามนโยบายและขอบเขตการพัฒนาองค์กร ขึ้นอยู่กับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละหน่วยงาน