สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันระบบสมรรถนะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการกำหนดให้สอดคล้องไปตามนโยบายและขอบเขตการพัฒนาองค์กร ขึ้นอยู่กับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละหน่วยงาน
 📝 ผู้เขียน : อาจารย์วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ 

         ปัจจุบันระบบสมรรถนะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการกำหนดให้สอดคล้องไปตามนโยบายและขอบเขตการพัฒนาองค์กร ขึ้นอยู่กับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละหน่วยงาน มีบางคำถามสงสัยว่า ทำไมสมรรถนะแต่ละหน่วยงานจึงมากน้อยไม่เท่ากันแล้วจะเอาอะไรมาประเมินว่าแผนกดังกล่าวทำงานดีหรือทำงานมากไป

          คำตอบคือก่อนอื่นนั้นนักทรัพยากรมนุษย์ต้องมาวิเคราะห์งานเสียก่อนจึงจัดทำใบพรรณางานให้เป็นรูปแบบหรือเรียกกันว่า JD (Job Description) หากองค์กรไหนไม่มีการกำหนดหน้าที่งานเป็นกิจลักษณะจะพบปัญหาความไม่เท่าเทียม ความไม่รู้หน้าที่งานสูง ตำแหน่งนั้นลาออกไปมักจะไปพร้อมกับหน้าที่งานด้วยหัวหน้างานต้องมานั่งพรรณางานให้พนักงานใหม่จดกันหน้าดำคร่ำเครียด เป็นการทำงานซ้ำซ้อนเสียเวลาในส่วนที่ควรจะพัฒนาด้านอื่นๆไป

         ดังนั้น เมื่อองค์กรต้องการพัฒนาระบบงาน หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP(Standard Operating Procedure) สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลกำหนดหน้าที่งานอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายอีกทั้งยังช่วยเรื่องการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งที่ต้องการได้ทันเวลา สำหรับเรื่องสมรรถนะในการทำงานนั้น ขอยกตัวอย่างโดยสังเขป เพื่อทำความเข้าใจสำหรับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกท่าน

สำหรับ Competency(สมรรถนะ) นั้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. สมรรถนะหลักองค์กร (Core Competency: CC) หมายถึงทักษะและคุณลักษณะที่ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องมี เป็นพื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น การบริการที่ดี (Service Mind),ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork), จริยธรรม (Integrity) ,ความชำนาญในงานสายอาชีพ (Expertise)     ,การยืดหยุ่นปรับตัว (Flexibility) เป็นต้น

2. สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency: FC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะที่บุคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย  การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking),ความมั่นใจของตนเอง (Self Confidence),การสื่อสารจูงใจ (Communication &Motivate),การประสานงาน (Coordination)  ,การวางแผน (Planning),การติดตามงาน (Follow up),การเจรจาต่อรอง (Negotiation),การแก้ปัญหา (Problem Solving),การให้คำปรึกษา (Consultation)  เป็นต้น

3. สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ (Management Competency: MC) หมายถึง ความรู้ ทักษะและ คุณลักษณะด้านการบริหารจัดการที่จำเป็นสำหรับพนักงานที่มีหน้าที่ในระดับบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายวางไว้ ตัวอย่างเช่น  การตัดสินใจและการแก้ปัญหา(Decision Making &Problem Solving),การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management),การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management),การโค้ชสอนงาน (Coaching) เป็นต้น

4. ความรู้เฉพาะตามสายงาน (Job Competency: JC) หมายถึง ความรู้เฉพาะสายงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายวางไว้ ประกอบด้วย ความรู้ด้านงานพัฒนาฝึกอบรม (Human Resources Development Knowledge),ความรู้ด้านงานบัญชี (Accounting Knowledge),ความรู้ด้านการตลาด (Marketing Knowledge)

ความรู้เพิ่มเติม

การกำหนด Competency แต่ละหัวข้อควรมีการวิเคราะห์งานให้เรียบร้อยเสียก่อน 

โดยทีมที่วิเคราะห์งานต้องประกอบไปด้วยผู้ดำรงตำแหน่งในงาน 

หัวหน้างานหรือผู้จัดการ รวมถึงฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบงานโดยตรง 

เพราะ Competency บางข้ออาจมีความเกี่ยวข้องและข้ามสายงานเป็นได้

คำถามน่ารู้ 

1. Core Competency ในองค์กรท่านมีกี่ข้อ อะไรบ้าง ?

................................................

2. Competency แต่ละตำแหน่งงาน(Job Competency) ควรกำหนดกี่ข้อ ?

..................................................

3. ใครควรเป็นผู้กำหนด Competency ?

..................................................

บทความ  บทเรียน  Competency  JD  พฤติกรรม  IT  องค์กร  HR  HRD  บริหาร  ผู้จัดการ  การตลาด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดปฐมนิเทศใช้เกมและกิจกรรมอะไรดี

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา