มุมมองการลดต้นทุน ความสูญเปล่า แบบลีน (LEAN)

           ลีน (LEAN) แปลว่า ผอมหรือบาง เปรียบกับคน หมายถึง คนที่ร่างกายสมส่วน ปราศจากชั้นไขมัน แข็งแรง ว่องไว กระฉับกระเฉง ถ้าเปรียบองค์กร หมายถึง องค์กรที่ดำเนินการโดยปราศจากความสูญเสีย ทุกๆกระบวนการ ปรับตัว ตอบสนองต่อตลาดได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่งขัน ซึ่ง เป้าหมายสูงสุดของการทำ ลีน(LEAN) คือ การกำจัดความสูญเปล่าทั้งหมด ทุกกระบวนการ




          วันนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง เรื่องการลดต้นทุน ลดความสูญเปล่า ในกระบวนการผลิตและสำนักงาน ซึ่งจะพบว่า ต่างประเทศทั้งเอเชีย ยุโรป คำนึงถึงหลักการลดต้นทุนแบบลีนกันมาก เพราะเมื่อได้ลงมือทำกันอย่างจริงจัง จะเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้ง คน (Man) เครื่องจักร (Machine) วัตถุดิบ (Material) ระบบงาน (Method) สิ่งแวดล้อม (Environment) และคุณประโยชน์ อื่นๆตามมาอีกมาก
          รวมถึง หลายบริษัท ปลูกฝังพนักงานทั้งคุณลักษณะนิสัย ให้พนักงานทุกคน นำกระบวนการลีน ไปบริหารจัดการกับชีวิตประจำวัน ทำลีนในบ้าน ห้องครัว ห้องน้ำ ไม่ต่างจากการทำลีนที่โรงงานหรือสำนักงาน
          นี่แหละ คือสิ่งที่ประเทศไทยเรายังไปไม่ถึงขั้นนั้นสักที !!!!
          เรามีลีนไว้ในการทำงานเท่านั้นแต่ขาดการปลูกฝังแบบรูปธรรมให้เกิดขึ้นในใจ
การลดต้นทุน ไม่ใช่ลดเงินในกระเป๋าเพื่อสร้างกำไรอย่างที่พนักงานหลายคนเข้าใจ แต่เป็นการบริหารให้ทุกขั้นตอนในชีวิต ตั้งแต่ก้าวเดิน คิด ทำงาน เวลา ใช้สิ่งของ ทรัพย์สิน เรียกง่ายๆ จัดระเบียบให้ทุกอย่างในชีวิต ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ดีขึ้น ทำการพัฒนาสม่ำเสมอ ตั้งแต่ต้นทุน เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน แรงงาน เวลา รวมถึง การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ในกระบวนการทำงานต่างๆ 

          ความสูญเปล่ามี 7 ประการ (7 Wastes) 

          1. ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) เป็นการผลิตมากกว่าที่ลูกค้าต้องการ ผลิตก่อนความต้องการ ต้นทุนถูกใช้ก่อนเวลาจำเป็น 

          2. ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting) หรือ เวลาว่าง (Idle Time) อาจเกิดจากกการขาดวัสดุการผลิต การวางแผนผิดพลาด เกิดการสูญเปล่าทางเวลา เกิดการว่างงานยาวนานหรือรอคอยโดยเปล่าประโยชน์ 

          3. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (Transportation) การขนย้ายวัสดุเกินจำเป็น ระยะทางไกล ส่งผลต่อการรับสินค้า บางครั้งขึ้นอยู่กับการวางผังโรงงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการขนส่งทั้งภายในและภายนอกโรงงาน 

          4. ความสูญเปล่าจากกระบวนการผลิต (Processing) เป็นการดำเนินงาน ที่มีกระบวนการ ขั้นตอนมากเกินไป ในข้อนี้ต้องอาศัยการวิเคราะห์ขั้นตอนที่เหมาะสม และกำจัดขั้นตอนที่สำคัญน้อยที่สุดหรือไม่มีความจำเป็นมากออกไป

          5. ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลัง (Inventory) สินค้าคงคลังในที่นี้หมายถึง สินค้าที่เป็นวัตถุดิบ ชิ้นงานระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูปทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ 

          6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion) การเคลื่อนไหวใดๆก็ตามที่ไม่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดการสูญเปล่าในการทำงาน เช่น การเดินไปหยิบอุปกรณ์ห้องถัดไป การยืนทำงานในสถานที่มี สิ่งกีดขวาง การขยับร่างกายเพื่อการทำงานขั้นตอนถัดไป 

          7. ความสูญเสียจากชิ้นงานที่เสีย (Defect) / แก้ไขงานเสีย (Rework) เป็นการใช้งานผิดพลาด ใช้วัสดุผิดพลาด หรือผลิตสินค้าวัสถุดิบที่มีข้อบกพร่อง ทำให้เกิดการทำงานในครั้งถัดไป เกิดความสูญเปล่าทั้งเวลาและวัสดุที่ใช้ 

          ต้องบอกว่า หลักการลดต้นทุนที่ดีนั้น ผู้บริหารต้องกระตุ้นทีมงานให้มี การวางแผน P D C A หาต้นเหตุปัญหาจาก แผนภูมิก้างปลา (Fish-Bone Diagram) และติดตามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากมีการอบรมด้านการลดต้นทุน ลดความสูญเสีย ความสูญเปล่าแล้ว ควรส่งเสริมโครงการจัดทำการลดต้นทุน ความสูญเสีย ความสูญเปล่า ให้มีการดำเนินงานจริงในองค์กร อาจใช้โดยอาศัยหลัก การจูงใจ (Motivation) ในรูปแบบที่แตกต่าง เช่น เงินรางวัล ใบประกาศเกียรติบัตร คะแนนบวกเพิ่มปลายปี ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ได้
          อย่าลืมนะคะการลดต้นทุนทำได้ทุกที่ อยู่ที่ใจคิดทำและเริ่มทำ เมื่อไร ?  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดปฐมนิเทศใช้เกมและกิจกรรมอะไรดี

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?