มี Roadmap ธุรกิจประสบความสำเร็จ

 หลายท่านคงคุ้นกับคำว่า Roadmap เพราะช่วง 1 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย รวมถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีแผนกลยุทธ์ระยะยาวด้วย Roadmapหรือยุทธศาสตร์ที่กำหนดการทำงานร่วมกัน

📝ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   

          หลายท่านคงคุ้นกับคำว่า Roadmap เพราะช่วง 1 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย รวมถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีแผนกลยุทธ์ระยะยาวด้วย Roadmapหรือยุทธศาสตร์ที่กำหนดการทำงานร่วมกัน ทำไปแล้วมีกี่โครงการใช้ระยะเวลาเท่าไร วิธีการดำเนินการมีกี่รูปแบบ คาดการณ์แล้วเสร็จเมื่อใด

          ในบางครั้งพบว่าระยะเวลาอาจมีการยืดหยุ่นไปตามสภาพปัญหา สิ่งแวดล้อมณ ขณะที่ดำเนินงาน จึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานกาณ์ที่พบในปัจจุบัน

          การวาง เส้นทางการทำงาน(Roadmap) นั้น ในช่วงหลายปีก่อนนัก HR ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นตัวกำหนดเส้นทางหรือทิศทางการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร เมื่อนำมาใช้งานจริงหลายบริษัทไม่ได้นำแผนดังกล่าวมาใช้พัฒนา เก็บพับไว้บนโต๊ะ หน้าจอคอมพิวเตอร์แทนบางองค์กรเดินตามแผนความคิดผักชีโรยหน้าก็มี ปัญหาก็คือ พนักงานในองค์กรไม่เกิดการ พัฒนา คนเก่งลาออกไปเติบโตที่อื่น คนใหม่ทำงานไม่นานก็ออก แล้วทำอย่างไรให้พนักงานเก่ง?? อยู่กับองค์กรนานๆ

         การกำหนดเส้นทางพัฒนาบุคลากรนั้น ควรเริ่มตั้งแต่พนักงานใหม่ ก้าวเข้ามาทำงาน แต่วันแรกถึงวันเกษียณ ต้องกำหนดเส้นทางทำงานอย่างชัดเจน เขาต้องเริ่มอะไร ตลอดระยะเวลาทำงานมีใครเป็นที่ปรึกษา อีกกี่ปีได้เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนไปแล้วต้องฝึกอะไรเพิ่มทำงานดีผลงานเด่นมีรางวัลตอบแทนหรือไม่ ทำงานนานๆได้รับการพัฒนาทักษะด้านใด

         “..อีก 3 เดือน มีโปรแกรมเดินทางไปปฎิบัติกรรมฐานและแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดียไปกับใคร สายการบินใด ที่พัก อาหาร ต้องเตรียมของใช้จำเป็นอะไรบ้าง ยาประจำตัว หากเกิดเจ็บป่วยมีโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดตั้งอยู่ที่ไหน ในยามฉุกเฉินควรโทรแจ้งใคร วางแผนการ เดินทางกลับเมื่อใด ”

         …นี้คือตัวอย่างการวางเส้นทางแสวงบุญ ที่เพื่อนผู้ขียนต้องวางแผนขณะที่อยู่ต่างแดนในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งไม่ต่างอะไรไปกับการวางเส้นทางพัฒนาบุคลากร อะไรที่พนักงานต้องเจอ หน้าที่ที่ต้องเติบโต สวัสดิการการพัฒนาความรู้ที่จำเป็นในวิชาชีพ

         การวางโรดแม๊ปช่วยเรามองเห็น ภาพใหญ่ (Big picture) ร่วมกัน เดินไปในทิศทางเดียวกัน ยิ่งในยุคการแข่งขันทางการตลาดสูง กลยุทธ์มากมายที่เกิดขึ้นแต่ละบริษัทต่างงัดไม้เด็ดมาชูศักยภาพ หากบริษัทเรานิ่งเงียบ ยึดติดกับภาพเดิมๆ ไม่ปรับกลยุทธ์การตลาดและ การพัฒนาบุคลากร อีกไม่นาน เราจะถูกกลืนองค์กรไปจากโลกมนุษย์

         การตลาดยุค 1.0 นั้นคิดถึงแต่เรื่องการผลิตเป็นหลัก ธุรกิจเกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการผลิต การเงินและวิศวกรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก พอการผลิตล้นตลาด ยุคการตลาด 2.0 งานดีไซน์ต้องดีกว่า สินค้าต้องให้อารมณ์ความรู้สึก สอดรับกับความต้องการผู้บริโภค ธุรกิจต้องทำความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (consumer centric) ไม่ว่าฐาน การผลิตจะตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม ต่อมายุคการตลาด 3.0 สินค้าและบริการต้องมอบ ประสบการณ์ใหม่ๆ แก่ลูกค้า มีความโดดเด่น และดีไซน์แปลกใหม่

        จะเห็นได้ว่า การวางเส้นทางหรือโรดแมป เป็นกระบวนการที่สำคัญอันดับแรกทีเดียว หากองค์กรก้าวหน้า พนักงานยังล้าหลัง การพัฒนากลายเป็นภาพ “เต่าเดินตามกระต่าย”

        จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กร ที่กำลังมองหาเครื่องมือพัฒนาคนเก่ง อยู่ที่ว่า คุณมีความตั้งใจจริงหรือแค่คิดเพียงวูบหนึ่ง แล้วแวบ!!หายไป

 บริหาร  บทความ  Roadmap  HR  HRD  อินเดีย  การตลาด   

https://www.consultthailand.com/blog/info-blog.php?blog_id=18&web=Roadmap


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดปฐมนิเทศใช้เกมและกิจกรรมอะไรดี

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?