แนวทางการนำผลประเมิน Competency ไปใช้

 ทั้งนี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการนำผลประเมิน Competency เพื่อใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง

📝ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์  

         ทั้งนี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการนำผลประเมิน Competency เพื่อใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง



         1. การบริหารจัดการบุคลากร (Human Resource  Management)

          • การเลื่อนตำแหน่งงาน (Promotion) เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรทั้งด้านความสามารถ ศักยภาพ ให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้น

          • การโอนย้ายพนักงาน(Transfer) ในกรณีตำแหน่งงานว่างลง สามารถนำพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที

          • การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน (Job Rotation) บางตำแหน่งจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งงาน เพื่อการทำหน้าที่อย่างเหมาะสม ถูกต้อง ไม่มีข้อผูกมัดเฉพาะบุคคล ผลประเมิน Competency สามารถเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจพิจารณาเลือกบุคลากรสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ได้เป็นอย่างดี

          • การสรรหาบุคลากร (Recruitment) ผลการประเมิน Competency ช่วยในการประเมินคุณลักษณะ ความสามารถพนักงานตำแหน่งนั้นๆ ว่ามีความเหมาะสม เพียงพอต่อการดำรงตำแหน่งหรือไม่  เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีความเหมาะสมต่อไป

          แม้การพิจารณาเข้าทำงานในครั้งแรกเป็นการประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น แต่เมื่อได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่จริงในหน้างาน การประเมินผล Competency ช่วยในพิจารณาด้วยข้อมูลความเหมาะสมในการทำงานจริง ว่าเหมาะสมต่อหน้าที่ดังกล่าวหรือทำหน้าที่หน่วยงานอื่นตามถนัด  

        2.การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Management)

           ผลของการประเมิน Competency สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งงาน โดยสามารถเป็นส่วนสำคัญต่อการจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆแก่พนักงานในองค์กร เช่น การปรับขึ้นเงินเดือน เบี้ยขยันพิเศษ โบนัส ค่าประจำตำแหน่ง เป็นต้น

        3. การพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development)

            ผลการประเมิน Competency ช่วยในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรแต่ละหน่วยงาน นอกจากการสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม(Training needs) แล้ว หน่วยงานพัฒนาบุคลากรยังสามารถนำผลประเมิน Competency วางแผนจัดทำหลักสูตรหรือโปรแกรมการอบรมภายใน ภายนอก ที่เหมาะสมตามลำดับความสำคัญละบุคคล 

            เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาต่างๆ เช่น การสอนงาน (Coaching),การเพิ่มปริมาณงาน(Job Enlargement),การเพิ่มคุณค่างาน(Job Enrichment),การให้คำปรึกษา(Consulting)หรือการติดตามสังเกตผู้เชี่ยวชาญ(Job Shadowing) เป็นต้น

      4. การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าสายอาชีพ(Career Path)

            ผลการประเมิน Competency ช่วยพิจารณาการพัฒนาและการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสู่สายอาชีพหรือข้ามสายอาชีพที่เกี่ยวข้อง สู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น  พร้อมวางแผนพัฒนาเพิ่มศักยภาพการบริหารแก่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้มีความพร้อมในการดำรงตำแหน่งนี้ คือส่วนหนึ่งของการนำผลประเมิน Competency มาบริหารจัดการใช้จริงในองค์กร ทั้งยังสามารถเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์องค์กรให้มีศักยภาพ วางแผนพัฒนาคนเก่ง ธำรงรักษาคนเก่งให้อยู่คู่องค์กร หากถามว่า ทำอย่างไรให้มีคนเก่งในองค์กร  

            Competency คือตัวชี้วัด ตัวประเมินความสามารถบุคลากรได้อย่างดีทีเดียว เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่าง

คำถามชวนคิด

ผลประเมิน Competency นำมาพัฒนาบุคคลที่มีศักยภาพสูง(High Potential) ด้านใดบ้าง  เพราะเหตุใด?

............................................................................

 บทความ  บทเรียน  Competency  HR  HRD  ประเมิน  บริหาร  เลื่อน  ย้าย  หมุนเวียน  สรรหา  ค่าตอบแทน  Guidelines  apply  assessment  result

https://www.consultthailand.com/blog/info-blog.php?blog_id=16&web=Competency-Guideline


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดปฐมนิเทศใช้เกมและกิจกรรมอะไรดี

ทักษะ 10 ข้อบริษัทต้องง้อเรา

สมรรถนะ (Competency Model) มีอะไรบ้าง ?